กว่าหลายพันปีที่มนุษย์รู้จักและนำน้ำผึ้งมาใช้เป็นสารให้ความหวาน น้ำผึ้งมีสรรพคุณทางยา และมีประโยชน์ต่อสุขภาพจึงทำให้มีการนำน้ำผึ้งมาใช้ประโยชน์ในรูปแบบที่หลากหลาย บางคนนิยมรับประทานน้ำผึ้งเพียงอย่างเดียว หรืออาจจะนำน้ำผึ้งมาผสมกับน้ำนมหรือผลไม้ นอกจากนี้น้ำผึ้งมีสรรพคุณเป็นยาระบายอ่อนๆ จึงมักนำมาให้เด็กที่มีอาการท้องผูกรับประทาน รวมทั้งยังมีสรรพคุณในการป้องกันหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ ได้อีกด้วย วันนี้ Fora Bee ไม่รอช้าที่จะพาทุกคนไปรู้จักน้ำผึ้ง ประโยชน์ของน้ำผึ้ง ลักษณะที่ดีของน้ำผึ้งกันค่ะ
น้ำผึ้งคืออะไร…น้ำผึ้ง เป็นสารให้ความหวานจากธรรมชาติ (Natural Sweetener) ที่ได้จากผึ้ง โดยผึ้งงานจะทำหน้าที่เก็บน้ำหวานจากดอกไม้ตามแหล่งอาหารลงสู่กระเพาะน้ำหวาน จากนั้นจะมีการขับเอนไซม์จากต่อมน้ำลายเพื่อย่อยสลายหรือ เมแทบอไลต์ น้ำตาลกลูโคส (Glucose) และฟรักโทส (Fructose) ให้กลายเป็นน้ำตาลอินเวิร์ต (Invert Sugar) คือ น้ำตาลเดกซ์โทรส (Dextrose) และมอลโทส (Maltose) ปฏิกิริยาการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้จะเกิดขึ้นทันที เมื่อผึ้งงานเริ่มบินกลับรัง และในขณะเดียวกันที่ผึ้งภายในรังมีการกระพือปีก จะเกิดพลังงานความร้อนภายในรัง ช่วยเร่งการทำงานของเอนไซม์ ตลอดจนช่วยลดความชื้นในน้ำหวานให้กลายเป็นน้ำผึ้งในที่สุด
น้ำผึ้งแท้สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. น้ำผึ้งหัวคอน น้ำผึ้งในช่วงฤดูกาลที่ไม่มีดอกไม้ ธรรมชาติของผึ้ง ผึ้งจะต้องกินน้ำหวาน เมื่อไม่มีดอกไม้ ผึ้งไม่มีอาหารเพียงพอ ฉะนั้นผึ้งจะตาย เกษตรกรจึงต้องรักษาชีวิตผึ้งด้วยการให้อาหารเทียม คือ น้ำตาลผสมเกสรผึ้ง และนมถั่วเหลืองเพื่อเลี้ยงผึ้ง โดยให้ผึ้งเข้าใจว่านี่คืออาหารที่เขาสะสมไว้
2. น้ำผึ้งจากน้ำหวานดอกไม้ น้ำผึ้งผ่านความร้อน วางขายอยู่ทั่วไปในท้องตลาดปัจจุบัน
การเลี้ยงผึ้งนั้น ผู้เลี้ยงจะใช้แผ่นรังเทียม ซึ่งก็คือ ไขผึ้งแผ่นเรียบใส่ไว้ในกล่องไม้ และใส่นางพญาผึ้งไว้ ผึ้งจะเริ่มการทำงานด้วยการดึงหลอดรวง ซึ่งภายใน 1 คืน หลอดรวงจะหนาขึ้น ประมาณ 1 นิ้ว ทั้งด้านหน้าและด้านหลังของแผ่นรังเทียม (ไขผึ้งที่ได้ ได้จากไขผึ้งในฤดูกาลก่อน) จากนั้นผึ้งจะเก็บน้ำผึ้งน้ำหวานจากดอกไม้ เข้ามาใส่หลอดรวง โดยใช้เวลา 3 วัน ผึ้งจะเก็บ น้ำหวานจนเต็มรวงผึ้ง น้ำผึ้งที่อยู่ในรวง เมื่อเก็บน้ำผึ้งเต็มหลอดรวงแล้ว ความชื้นยังสูงอยู่ แต่ผู้เลี้ยงต้องการปริมาณการเก็บที่มาก ดังนั้นจึงรีบเอาน้ำเชื่อมจากน้ำตาลทรายจ่อไว้ที่หน้ารัง เพื่อให้ผึ้งเข้าใจว่า ปริมาณอาหารมีมากมายมหาศาล และอยู่ใกล้ ผึ้งจึงรีบปิดรวง โดยใช้น้ำเชื่อมที่ผสมจากน้ำตาลทรายขาวนั้น ปิดรวงทันที หลังจากนั้น เมื่อหมดฤดูกาลเก็บน้ำหวานจากดอกไม้แล้ว จึงนำน้ำผึ้ง ไประเหยความชื้น ด้วยความร้อนประมาณ 60 องศา ซึ่งทำให้คุณค่าของน้ำผึ้งซึ่งมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ถูกทำลายไป
3. น้ำผึ้งจากน้ำหวานของดอกไม้ แต่ไม่ผ่านความร้อน (Raw Honey) น้ำผึ้งชนิดนี้ มีวิธีการเก็บเช่นเดียวกับวิธีการที่ผ่านความร้อน แต่ให้ระเหยเวลาการทำงานของผึ้งมากขึ้น โดยเมื่อผึ้งเก็บน้ำหวานจากดอกไม้เข้ามากักไว้ในรวงแล้ว จะได้เวลาเพิ่มขึ้นอีก 8-10 วัน ผึ้งจะสามารถรับรู้ได้เองว่า น้ำผึ้งในรวง นั้นมีความชื้นที่เหมาะกับการเก็บไว้ในระยะเวลายาวนานหรือไม่ โดยกลางวันจะเก็บน้ำหวาน และกลางคืนจะระเหยความชื้นเองด้วยวิธีการกระพือปีก 2 ข้าง พัดความชื้นให้ระเหยไป โดยจะทำงานไม่พักผ่อน เป็นเวลา 11-13 วัน จงมั่นใจว่าความชื้นที่อยู่ในน้ำผึ้งต่ำเพียงพอ คือ 16-21% ซึ่งถือว่าต่ำมาก ผึ้งจึงจะปิดรวงโดยธรรมชาติน้ำผึ้งที่มีความชื้นต่ำ สามารถเก็บรักษาได้นานหลายสิบปี โดยไม่บูดเสีย
ลักษณะของน้ำผึ้งที่ดีเป็นอย่างไร
1. น้ำผึ้งต้องมีลักษณะเป็นของเหลวข้น
2. น้ำผึ้งจะมีสีตามธรรมชาติตั้งแต่สีเหลืองอ่อนถึงสีน้ำตาล มีกลิ่นตามธรรมชาติของน้ำผึ้ง ปราศจากกลิ่นรสอื่นที่ไม่พึงประสงค์
3. ไม่พบสิ่งแปลกปลอมที่ไม่ใช่น้ำผึ้ง เช่น เส้นผม ขนสัตว์ ดิน ทราย กรวด ชิ้นส่วนหรือสิ่งปฏิกูลจากสัตว์
4. น้ำผึ้งแท้จะไม่ใช้วัตถุกันเสียและสีสังเคราะห์ทุกชนิด
5. น้ำผึ้งแท้ต้องมีน้ำตาลรีดิวซิ่ง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 โดยน้ำหนัก
6. น้ำผึ้งแท้ต้องมีความชื้น ไม่เกินร้อยละ 21 โดยน้ำหนัก
7. น้ำผึ้งที่ดีมีน้ำตาลซูโครส ไม่เกินร้อยละ 5 โดยน้ำหนัก
8. น้ำผึ้งที่ดีจะมีสารปนเปื้อน ได้แก่ สารหนู ต้องไม่เกิน 0.2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และ ตะกั่ว ต้องไม่เกิน 0.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
9. น้ำผึ้งที่ดีจะมีจุลินทรีย์จำพวกยีสต์และรา น้อยกว่า 10 โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 กรัม
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ ฟอร่า บี น้ำผึ้ง เชียงใหม่ หวังว่าตอนนี้ทุกคนคงจะรู้แล้วว่า น้ำผึ้งคืออะไร รู้ประเภทของน้ำผึ้ง และรู้วิธีสังเกตลักษณะของน้ำผึ้งที่ดี กันมากขึ้นแล้ว ก่อนที่จะทานน้ำผึ้งหรือนำน้ำผึ้งไปใช้ประโยชน์ด้านไหนอย่าลืมสังเกตลักษณะของน้ำผึ้งที่ดีตามที่ได้บอกไปข้างต้นนี้เพื่อที่จะได้สรรพคุณของน้ำผึ้งกันอย่างเต็มที่นะคะ
Comments